ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ

on วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Support Systems) หรือเรียกโดยย่อว่า (IT Support Systems) หมายถึง ระบบที่นำมาใช้ในการสนับสนุนสารสนเทศที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประกอบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเป็นหลัก ความพิเศษของเทคโนโลยีทั้งสองนี้ก็ตรงที่ ต่างเป็นเทคโนโลยีที่เสริมซึ่งกันและกัน กล่าวคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพหากเป็นเทคโนโลยี เดี่ยว

ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบไปด้วย หลักสำคัญในการจัดการสารสนเทศเป็น จำนวนมากซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ในทางรูปแบบแนวคิดของการนำไปใช้นั้นจะมีรูปแบบที่ชัดเจนสามารถใช้ วิเคราะห์และจัดการได้จากแนวคิดและแนวทางการจัดการสารสนเทศได้ตาม แนวความคิดที่ตกผลึกของกระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Concepts and Management)

แนวความคิดที่ตกผลึกของกระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

แนวความคิดที่ตกผลึกของกระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Concepts and Management) เป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยต่างๆ ที่จะนำระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์ ซึ่งจะมีองค์ประกอบที่ใช้แตกต่างกันไปตามภารกิจและขนาดองค์กร วัตถุประสงค์ และเงื่อนไขต่างๆ ปัจจัยเหล่านั้นที่ใช้สำหรับการตัดสินใจสามารถจำแนกออกได้ดังนี้

ระบบสารสนเทศ (Information System) (IS)

ประกอบไปด้วย การเปลี่ยนข้อมูล (Data) ไปเป็นสารสนเทศ (Information) และทำให้สารสนเทศนั้นกลายเป็นความรู้ (Knowledge) นอกจากนี้จากยังมีคำหนึ่งที่มาความหมายสืบเนื่องจากทั้ง 3 คำ คือ ผู้รู้ (Wisdom) หรือ กูรู หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ด้านนั้นๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญ ชำนาญการในความรู้นั้นๆ

ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System)
เป็นกระบวนการที่มีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นประจำวัน เป็นข้อมูลกระบวนการที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เช่น ลูกค้าทำการสั่งซื้อหรือจ่ายเงิน การเก็บข้อมูลสินค้าคงคลัง ในธุรกิจที่มีการทำรายการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานนี้เรียกว่าระบบประมวลผลธุรกรรม เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่ เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า ระบบนี้จะมีการจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกันการคิดคำนวณ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ ทำการจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้นและทำการสรุปข้อมูล เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น มีการเก็บ (Storage)การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานแต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS)
คือ ระบบประมวลผลรายการที่ครอบคลุมกิจกรรมหลัก ๆ ขององค์กร แต่จะแตกต่างจากระบบประมวลผลรายการที่ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร และออกรายงานต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับใช้ตัดสินใจ ซึ่งจะเป็นรายงานสรุปข้อมูลต่างๆ ซึ่งไม่ใช่งานประจำที่ทำอยู่ทุกวัน เหมือนกับระบบประมวลผลรายการ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ยังใช้สำหรับการวางแผน การติดตามและควบคุมงานในองค์กรด้วย ซึ่งผู้บริหารระดับล่าง และกลางเป็นผู้ใช้งาน

ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System)
ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
  1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
  2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
  3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
  4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
  5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
  6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
  7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ระบบขับเคลื่อนองค์กรที่พัฒนาสืบทอดต่อกันมา (Legacy System)

ระบบขับเคลื่อนองค์กรที่พัฒนาสืบทอดต่อกันมา เป็นระบบการทำงานเดิมที่เคยมีอยู่แล้วภายในองค์กร เป็นระบบที่มีความสำคัญกับการทำงานขององค์กร การเปลี่ยนแปลงองค์กรเข้าสู่องค์กรที่มีความทันสมัยในด้านเทคโนโลยีมากขึ้น legacy System จะมีผลและเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้พัฒนาจะต้องคำนึกถึง เนื่องจากว่า legacy System มักจะเกี่ยวข้องกับการทำงานประจำของพนักงานภายในองค์กร การเปลี่ยนแปลง หรือ การนำระบบใหม่ๆมาแทนที่ระบบเก่าจึงเกี่ยวข้องกับบุคคลภายในองค์กร และควบคุมได้ค่อนข้างยาก

ระบบวิสาหกิจ (Enterprise System)

คือระบบหรือกระบวนการต่างๆ ที่ใช้ทั้งองค์กร เพื่อใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน เพื่อช่วยให้การทำงานสะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น จะใช้ Database และ Data ร่วมกัน ซึ่งจะคอยจัดการระบบสารสนเทศ โดยรวมเอา Business Process หลักๆขององค์หารเข้ามารวมไว้เป็นหนึ่งเดียว

ลักษณะของ Enterprise system

  • ทำให้องค์กรมีโครงสร้างที่แข็งแรง และมีลักษณะการทำงานที่เป็นหนึ่งเดียว ไม่มีการแบ่งเป็นระยะย่อยๆของใครของมัน
  • การบริหารจัดการดีขึ้น
  • ใช้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะง่ายต่อการดูแล
  • การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามความต้องการของลูกค้า

การได้มาซึ่ง Enterprise systems

  • มีการสร้าง Business Model เกิดขึ้นมากมาย
  • มีการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ลงทุนมาก ใช้งานยาก
  • ไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นระบบที่ดีที่สุดในการทำงาน
ส่วนประกอบอื่นๆที่ช่วยสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
นอกจากแนวคิดระบบใหม่ๆที่ช่วยสนับสนุนสารสนเทศได้แล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่นๆที่เกิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนแนวคิดระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ เช่น

Service-oriented architecture (SOA)
คือ การนำแนวคิดด้านสถาปัตยกรรมแอพพลิเคชั่นที่มีการเรียกใช้บริการที่อยู่บน เน็ตเวิร์คหรืออินเทอร์เน็ต หรือมี การให้บริการแก่แอพพลิเคชั่นอื่นๆ ในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้กับองค์กร โดยอาศัยหลักการเว็บเซอร์วิสซึ่งเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งานภายในองค์กร ถือเป็นแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร


SOA แบ่งเป็น 2 คำ Service-Oriented และ Architecture
  • Service-Oriented เป็น Software ที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ แพ็คเกจ แต่เป็นซอฟต์แวร์ตัวเล็ก ทำงานเฉพาะด้าน ขึ้นอยู่กับว่าจะแบ่งเป็นบริการอะไรบ้าง
  • Architecture คือการออกแบบ โดยจะมององค์กรโดยรวมว่าต้องการบริการอะไรบ้าง ก็จะแบ่งบริการนั้นๆออกเป็นส่วนย่อยๆ

ทั้งนี้ หลายคนมองว่า SOAคือเว็บเซอร์วิสแต่จริงๆแล้วไม่ใช่เพราะเว็บเซอร์วิสเป็นแค่เครื่องมือใน การใช้งาน ดังนั้น SOA จึงไม่ใช่สินค้า หาซื้อไม่ได้ แต่มันคือแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ SOA ประกอบด้วย 4 ส่วนคือ

  • Enterprise Service Bus เป็นโครงข่ายสำคัญในการขับเคลื่อน SOA ทั้งหมด เป็นการเชื่อมต่อระหว่างแอพพลิเคชั่น
  • Design-Time Governance เป็น ดาต้าเบส กลางช่วยรวบรวมว่าองค์กรมีบริการอะไรบ้าง และช่วยนำบริการออกไปยังหน่วยงานและควบคุมบริการให้เหมาะสมกับองค์กรด้วย
  • Run-Time management เป็นตัวจัดการ ทำอย่างไรให้บริการทำงานสอดคล้องกับ SOA ที่ตั้งไว้
  • Security Gateway ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง Firewall ที่เป็นเน็ตเวิร์ก แต่เป็น Application Firewall ที่เข้าใจ คำสั่ง XML นอกจากนี้ต้องมี Application Delivery Control ช่วยเร่งความเร็วในการทำงานของ SOA ด้วย

SOA มีประโยชน์อย่างไร SOA มีประโยชน์อย่างมากทั้งบริษัทเอกชนและองค์กรในภาครัฐ โดยถ้ามองในแง่ของบริษัทเอกชน SOA จะช่วยทำให้เกิดการรวบรวมข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจได้ง่าย ทำให้สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์มของบริษัทนั้น ๆ

โปรแกรมประยุกต์ใช้งานตามภารกิจเฉพาะ (software-as-a-service : SaaS)

The software as a service business model เป็นโมเดลทางด้านธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม โดยแนวความคิดพื้นฐานเป็นการเอามาแทนที่การขายซอร์ฟแวร์ แบบเก่า ที่มีราคาแพง และการติดตั้งที่ยุ่งยาก น่ารำคาญออกไป โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการใช้งานผ่านระบบเครือข่าย หรือตัว Internet Browser ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องซื้อฮาร์ดแวร์ หรือ ซอร์ฟแวร์ โดยผู้ใช้งานจะจ่ายเพียงแค่ค่าคิดบริการการเป็นสมาชิก หรือค่าบริการตามที่ใช้งานจริง (pay per usage) ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายลงไปได้ SaaS on demand model ยังเป็นบริการที่สามารถพัฒนาต่อเนื่องได้ตลอดเวลา กับความต้องการที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อย ๆ สามารถดัดแปลงได้ง่าย เข้ากับองค์กร การบำรุงรักษา จะเพียงพอกับทรัพยากร และตามความต้องการ และการคำนวณค่าใช้จ่ายทางด้านการบำรุงรักษาจะเป็นอัตราที่แน่นอน และเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนัก

SaaS และ SOA
  • Saas : เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการสร้างซอร์ฟแวร์ในปัจจุบัน นอกจากนั้นซอร์ฟแวร์ยังมีการพัฒนา และผูกติดทุกสิ่งเข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้ผู้ผลิตรายเดียว
  • SOA : ซอร์ฟแวร์จะมาจากหลายแหล่งผูกติดกันแค่จุดที่ต้องการคำนวณ (point of execution) จึงทำให้สามารถเปลี่ยน เพิ่มเติมส่วนต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ จึงทำให้ยืดหยุ่นมากขึ้น
Implementing SaaS : The Utility Computing Concept.
Utility computing หมายถึงการให้บริการการประมวลผล มีความเสถียร และปลอดภัย เหมือนกับการให้บริการไฟฟ้า น้ำประปา หรือโทรศัพท์ เป้าหมายของ utility computing คือการให้บริการทรัพยากรสำหรับการประมวลผลตามความต้องการได้จากทุกแห่งทั่ว โลก ตลอดเวลาและตามความต้องการ ปลอดภัย ประสิทธิภาพที่วัดได้ ราคาที่ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณ ขนาดที่ยืดหยุ่น และง่ายในการบริหารจัดการ ในส่วนของการใช้งานระดับองค์กร จะช่วยลดเงินที่ต้องสูญเสียไปอย่างมหาศาล ไอบีเอ็ม (IBM) On-Demand project, HP, Microsoft, Oracle SAP และบรรดาบริษัทซอฟต์แวร์รายใหญ่ อยู่เบื้องหลังแนวความคิดนี้

ถ้าสำเร็จ Utility computing จะเปลี่ยนเส้นทางการขายซอฟต์แวร์ การจัดส่ง และการใช้งานในโลก ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าซอฟต์แวร์ทุกชนิดจะกลายมาเป็นบริการและขายแบบ เหมือนบริการทุกวันนี้

วิสาหกิจเชิงเสมือนจริง (Virtualization)

เป็นแนวความคิดใหม่ ๆ หลายครั้งที่จะนิยามความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" ซึ่งส่วนใหญ่ประเภทของวิสากิจเชิงเสมือนจริง คือ hardware virtualization แต่โดยทั่วไป วิสาหกิจเชิงเสมือนจริงแยกจากการใช้ประโยชน์ในธุรกิจ และข้อมูลจากทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งวิสาหกิจเชิงเสมือนจริงนั้นยอมรวมกับทรัพยากรสารสนเทศ ด้าน Hardware, Server และรวมถึงทรัพยากรต่างๆที่ต้องการ

ชนิดของวิสาหกิจเสมือนจริง มีดังนี้

  • การจัดเก็บ(Storage) การรวมกันทางกายภาพของการจัดเก็บจากหลากหลาย network และควบคุมจากส่วนกลาง
  • ด้านเครือข่าย(Network) ประกอบกับเครือข่ายทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ โดยแยกการจัดการออกเป็นส่วนๆ อีกทั้งยังรวมถึง Server ที่อยู่บนเครือข่าย
  • Hardware คือการใช้โปรแกรม (Software) ,Hardware ซึ่งรวมถึงส่วนประกอบต่าง ๆของคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการต่างๆ บางครั้งอาจจะเป็น virtual machine

วิสาหกิจเชิงเสมือนจริง สามารถเพิ่มขึ้นเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ในการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศ

สรุป เทคโนโลยี Virtualization เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์และได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบต่อบุคคลกลุ่มต่างๆ ในลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับบทบาทและแง่มุมของแต่ละกลุ่มบุคคลไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ผลิต และผู้บริโภคที่จะพิจารณา

กลุ่มคนซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร (Knowledge Workers)

ปัจจุบันสังคมได้ปรับเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตไปสู่การ บริการและความรู้ และองค์กรชั้นนำส่วนใหญ่เชื่อว่า "ความรู้" คือทรัพย์สินที่สำคัญและจะเป็นตัวสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน เพราะความรู้ลอกเลียนแบบกันยากแต่ต้องบริหารจัดการเอง ทำให้กระแสตื่นตัวเรื่อง การบริหารความรู้เป็นที่นิยมอย่างมาก ขณะเดียวกันกลุ่มคนที่ปฏิบัติงานบนฐานขององค์ความรู้ หรือที่เรียกว่า "Knowledge Workers" ซึ่งเป็นพลังสำคัญของระบบเศรษฐกิจสังคมใหม่ ก็กลายเป็นจุดสนใจมากขึ้น

มีนักวิชาการให้ความหมายของคำว่า Knowledge Workers ว่ากลุ่มคนซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร โดยแปลงและประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นข้อมูลข่าวสารใหม่ ซึ่งจะนำไปใช้ในการค้นหาและแก้ปัญหาขององค์กร เพิ่มผลประโยชน์ให้กับองค์กร พวกเขาสร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกับคนอื่น เรียนรู้จากผู้อื่น พร้อมที่จะเสี่ยงและเรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่ใช่แค่เพียงแต่จ้องจะวิพากษ์วิจารณ์จับผิดผู้อื่น กล่าวโดยสรุป Knowledge Workers ก็คือคนที่แก้ปัญหา ใช้สติปัญญาไม่ใช่งานแรงงานหรือธุรการงานประจำ พวกเขาต้องการความอิสระในการปฏิบัติงานสูง ใส่ใจต่อคุณภาพของการตัดสินใจและการใช้วิจารณญาณ มีความรู้พื้นฐานที่คนอื่นเลียนแบบได้ยาก สามารถในการแยกแยะ สร้าง ใช้ และพัฒนาข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนองค์ความรู้ให้มีความลึกซึ้งขึ้นกว่าเดิม เพื่อผลประโยชน์คือความสำเร็จขององค์กร

กิจกรรมและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถแบ่งออกได้เป็นสามระดับคือ
  • กิจกรรมเพื่อการดำเนินงานในองค์กร (Operational Activities) - การปฏิบัติงานที่เกิดเป็นประจำในองค์กร เป็นงานของพนักงานทั่วไปจนถึง supervisor เช่น การบันทึกคำสั่งสินค้า การทำบัญชีรายวัน
  • กิจกรรมเพื่อการบริหารงานในองค์กร (Managerial Activities) - เป็นงานในลักษณะการบริหาร ซึ่งเป็นงานบริหารระดับกลางเสียส่วนใหญ่ ผู้ที่มีบทบาทหลักได้แก่หัวหน้าฝ่าย-ผู้จัดการ เช่น การวางแผนงานระยะสั้น การจัดการและการควบคุมงาน
  • กิจกรรมเชิงกลยุทธ์สำหรับองค์กร (Strategic Activities) - เป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ที่เกิดจากผู้บริหารระดับสูง เป็นการกำหนดทิศทางและการวางแผนธุรกิจขององค์กร
ลักษณะเด่นของระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ
  1. ให้ผลตอบแทนจากเทคโนโลยีสารสนเทศสูงสุด
  2. ช่วยให้สามารถวางแผนการจัดการสารสนเทศที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตที่ส่งผลต่อองค์กรได้
  3. ช่วยให้สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสารสนเทศที่มีได้อย่างเหมาะสม
  4. และยังช่วยเปรียบเทียบระดับคุณค่าของข้อมูลอีกด้วย

0 ความคิดเห็น: